ความหมาย
               เหตุการณ์/การกระทำใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและส่งผลกระทบ หรือสร้างความเสียหาย (ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน) หรือก่อให้เกิดความล้มเหลว หรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายของแผนงาน/โครงการที่สำคัญในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ตามที่ระบุในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ
 
 
 การบริหารความเสี่ยงขององค์การ        
(
Enterprise Risk Management)
          •กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบ และต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงต่างๆให้เหลือน้อยที่สุด หรืออยู่ในระดับที่องค์การยอมรับได้ และเพิ่มโอกาสให้แก่ธุรกิจมากที่สุด ตลอดจนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่จะช่วยให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้
 
 
วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง 
•เพื่อให้ผลการดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามวัตถุ
ประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
•เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก และเข้าใจถึงความเสี่ยง
ด้านต่างๆที่เกิดขึ้นกับองค์กรและหาวิธีจัดการที่
เหมาะสมในการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กร
ยอมรับได้
•สร้างกรอบและแนวทางในการดำเนินงานให้แก่บุคลากร
ในองค์กรเพื่อให้สามารถบริหารจัดการความไม่แน่นอน
ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรได้อย่างเป็นระบบและมี
ประสิทธิภาพ
•เพื่อให้มีระบบในการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินการ
บริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ๆที่อาจ
เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
•เพิ่มมูลค่าให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
 
 
 ประเภทความเสี่ยง
 
1. ด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : S)

•กลยุทธ์

•การเมือง
•เศรษฐกิจ
•สถานการณ์โลก
•สังคม
•ชื่อเสียง
•ภาวะผู้นำ
•ตลาด
•ตราสินค้า
•ลูกค้า
การแข่งขัน
 

2. ด้านการดำเนินงาน (Operation Risk : O)

•ระบบขององค์การ
•กระบวนการทำงาน
•เทคโนโลยี
•บุคลากร
•ข้อมูลข่าวสาร
 
 3.  ด้านการเงิน (Financial Risk : F)
•อัตราดอกเบี้ย
•อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
•สภาพคล่อง
•งบประมาณ
•ความสามารถในการชำระหนี้
•ความน่าเชื่อถือทางการเงิน
 
 
4. ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/กฏระเบียบ
 (Compliance Risk :C)
•กฎระเบียบ
•กฎหมาย
•ระเบียบข้อบังคับ
•ข้อกำหนดของทางการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
                  
 
 
 
     การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในหน่วยงาน

        ความสำเร็จที่หน่วยงานจัดให้มีระบบในการบริหารความเสี่ยงโดยการบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรม  รวมทั้งกระบวนการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่หน่วยงานจะเกิดความเสียหาย  ให้ระดับความเสี่ยงและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่หน่วยงานยอมรับได้  ประเมินได้  ควบคุมได้  และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ  โดยคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายตามภารกิจหลักของกรมตามกฎหมายจัดตั้ง  และเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกรมเป็นสำคัญ
  
ระดับ ๑
มีคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานระดับสำนัก  โดยมีผู้อำนวยการสำนักฯ และผู้แทนจากทุกหน่วยงานในสังกัดร่วมเป็นคณะทำงาน 
ระดับ ๒
-ระบุปัจจัยเสี่ยงและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบ หรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย
-กำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายในทุกประเด็นยุทธศาสตร์และดำเนินการประเมินความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
-จัดทำรายงานสรุปผลการวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)  ของส่วนราชการ  โดยจำแนกระหว่างปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุม/บริหารจัดการ  และปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุม/บริหารจัดการให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้  และนำเสนอต่อคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยงของส่วนราชการ
ระดับ ๓
-นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ ๑ และ ๒ มาใช้ในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของกอง/สำนักได้แล้วเสร็จ  และได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูงของกอง/สำนักภายในวันที่  ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๕
-มีการสื่อสาร/ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนบริหารความเสี่ยงฯ ของหน่วยงานให้กับทุกหน่วยงานในพื้นที่รับทราบ  และสามารถนำไปปฏิบัติได้
ระดับ ๔
-ดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงได้แล้วเสร็จครบถ้วน  โดยมีการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงฯ อย่างสม่ำเสมอ  และมีการสรุปผลการดำเนินงาน  และนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการ อย่างน้อยไตรมาสละ ๑ ครั้ง
ระดับ ๕
-จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง โดยระบุผลการประเมินความเสี่ยงหลังจากที่ไ้ด้ดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงฯ  และสรุปผลการประเมินความเสี่ยง  โดยจำแนกระหว่างปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุม/บริหารจัดการ และปัจจัยเสี่ยงที่ยังไม่สามารถควบคุม/บริหารจัดการให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้  ทั้งนี้ต้องมีการกำหนดข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงฯ สำหรับการดำเนินงานในปีต่อไปและนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการ


   
 
ข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร
 
ช่องทางการสื่อสาร
 
กลุ่มเป้าหมาย
 
การบริหารความเสี่ยง ปี ๒๕๕๕ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
การบริหารความเสี่ยง ปี ๒๕๕๔
 
 
 
 
 
 
หนังสือเวียน/website
 
ข้าราขการในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
 
 
website
 
ข้าราขการในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
 
 
หนังสือเวียน/website
 
ข้าราขการในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
 
 
 
 
 
 
 
ขั้นตอนการจัดทำ  แผนบริหารความเสี่ยง
            กับแต่ละความเสี่ยง
 
 
 
 
 
หนังสือเวียน/website
 
ข้าราขการในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
0  ปล.เนื่องจากไฟล์มีขนาดใหญ่จึงได้แบ่งส่วนในการดาวน์โหลดไว้ค่ะ
 
๕. หนังสือที่ กษ ๐๔๐๐.๖/ว๔๐ ลงวันที่  ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ เรื่อง เอกสารแจ้งเวียน (รายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยง สำหรับงวด ๖ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔)  คลิ๊ก           
 
หนังสือเวียน/website
 
ข้าราขการในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
 
๖. หนังสือที่ กษ ๐๔๐๐.๖/ว๔๓ ลงวันที่  ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ เรื่อง เอกสารแจ้งเวียน (รายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยง สำหรับงวด ๖ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ คลิ๊ก  
 
หนังสือเวียน/website
 
 
ข้าราขการในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
 
๗. หนังสือที่ กษ ๐๔๐๐.๖/ว๕๐ ลงวันที่  ๘ กันยายน ๒๕๕๔ เรื่อง การรายงาน             ผลการปฏิบัติตามแผนการบริหารความเสี่ยง  สำหรับงวด ๑๒ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ คลิ๊ก  
 
หนังสือเวียน/website
 
 
ข้าราขการในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
            
กำหนดส่งงาน
 แผนบริหารความเสี่ยง กำหนดให้ส่งกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ภายในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๔  
 รายงานการบริหารความเสี่ยง สำหรับรอบ ๖ เดือน   กำหนดให้ส่งกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ภายในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๔  
 รายงานการบริหารความเสี่ยง สำหรับรอบ ๙ เดือน   กำหนดให้ส่งกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ภายในวันที่ ๘ กรกฏาคม ๒๕๕๔
 รายงานการบริหารความเสี่ยง สำหรับรอบ ๑๒ เดือน กำหนดให้ส่งกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ภายในวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๔     
             รายงานผลทุกรอบการรายงาน ผู้อำนวยการ/ผู้บริหารสูงสุดลงนามให้ความเห็นชอบ
 
 
  ดาวน์โหลดแบบฟอร์มในการรายงานผลการบริหารความเสี่ยง
  สำหรับรอบ ๖ เดือน
                       แบบฟอร์มการรายงานผลการบริหารความเสียง รอบ 6 เดือน  ปรับปรุงเพิ่มเติมโดยเพิ่มช่อง ปัญหา/
อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ในช่องสุดท้ายค่ะ    การรายงานผลให้ใช้ผลของแผนบริหารความเสี่ยงที่จัดทำขึ้น
ที่มีค่าคะแนน ๑๐-๒๕ คะแนน
                    
 สำหรับรอบ  ๙ เดือน
 >>รณีค่าดัชนีในรอบ ๖ เดือน สูงกว่า ๑๐ คะแนน
 โดยใช้ประเด็นความเสี่ยงตามแผนบริหารความเสี่ยง ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ปี ๒๕๕๔  
 และขอความกรุณา ระบุปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปํญหาให้ชัดเจนด้วยค่ะ
  
คำอธิบายเพิ่มเติม   สำหรับแบบฟอร์มการรายงานผลรอบ ๙ เดือน ได้สร้างตารางคะแนนสำหรับการรายงานผลจากแผน
บริหารความเสี่ยงของกรม ตามหนังสือที่ กษ ๐๔๐๐.๖/ว ๒๔ โดยค่าคะแนนทางด้านซ้ายมือ จะเป็นค่าคะแนนตาม
แผนบริหารความเสี่ยงของกรมฯ โดยจะต้องระบุ ความเสี่ยงที่ยังเหลืออยู่ ผลการปฏิบัติงานตามแนวทางการจัดการความเสี่ยง 
                      การประเมินความเสี่ยงสำหรับรอบ ๙ เดือน (โอกาส และ ผลกระทบ) จะได้ค่าดัชนีความเสี่ยง และ
ค่าความเสี่ยงที่ลดลงเป็นร้อยละเท่าไร (ในตารางได้ใส่สูตรการคำนวณไว้ จึงมีค่า ๑๐๐) พร้อมทั้งเขียนอธิบายถึง ปัญหา
อุปสรรค หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วย
                      ในกรณีที่แต่ละสำนักงานได้มีแผนบริหารความเสี่ยงในหน่วยงานอยู่แล้ว ก็ต้องรายงานผลการดำเนินงาน
ตามแผนบริหารความเสี่ยงที่มีในหน่วยงานด้วย (ไฟล์ที่ให้ดาวน์โหลดไปมีปัจจัยเสี่ยงบางตัวที่ยังไม่ได้ลบค่าคะแนนออก
 สามารถแก้ไขได้)
                      เพื่อความสะดวกและต่อเนื่องท่านสามารถเริ่มรายงานจากแบบฟอร์มการรายงานผลรอบ ๙ เดือน
ด้านบนก่อน ในรอบนี้แล้วในการรายงานผล รอบ ๑๒ เดือน ค่อยพิจาราณาผลการรายงานผล ค่าคะแนนแยก
แบบการรายงานผลก็สามารถทำได้ค่ะ
>>รณีค่าดัชนีในรอบ ๖ เดือน ต่ำกว่า ๑๐ คะแนน 
 
 สำหรับรอบ  ๑๒ เดือน
 
>>รณีค่าดัชนีในรอบ ๙ เดือน สูงกว่า ๑๐ คะแนน
>>รณีค่าดัชนีในรอบ ๙ เดือน ต่ำกว่า ๑๐ คะแนน 
 
รายงานผล
         รายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยง สำหรับงวด ๙ เดือน (ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓  ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔) คลิ๊ก
 
               รายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยง สำหรับงวด ๖ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔  คลิ๊ก         
 
 
 
  เอกสาร Powerpoint ในการบรรยาย VDO conference (๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔)สามารถดูการบรรยายย้อนหลังได้ที่
            สำนักส่งเสริมพัฒนาการบัญชีและถ่ายทอดเทคโนโลยี E-learning