วิธีการดำเนินการตาม แนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง                                                                           
 
ทำไมต้อง “ควบคุมภายใน”?...
                                           จากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๔๒  มาตรา ๑๕ (๓) (ก) (ค)  เป็นที่มาของระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. ๒๕๔๔  ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่  ๒๖ ตุลาคม  ๒๕๔๔  กำหนดให้ทุกส่วนราชการนำมาตรฐานการควบคุมภายในที่กำหนดโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ไปใช้เป็นแนวทางจัดวางระบบการควบคุมภายในให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี และรายงานความคืบหน้าทุก ๒ เดือน  พร้อมจัดทำรายงานการควบคุมภายในเสนอคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินภายใน ๙๐ วัน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณหรือปีปฏิทิน
 
 

การควบคุมภายในขององค์กร

 

                 การควบคุมภายใน หมายความว่า กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดให้มีขึ้น
เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผล
และประสิทธิภาพของการดำเนินงาน  ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล
 การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตในหน่วยรับตรวจ     ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย

ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี

                     ความสำเร็จของการควบคุมภายในภาคราชการ จะพิจารณาจากความสามารถของหน่วยงานในการควบคุมภายในตามระเบียบ
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 (ข้อ 6) และแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายใน
และ การประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ได้กำหนดไว้

     

                     หน่วยรับตรวจ     หมายถึง  กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

                     หน่วยงานย่อย    หมายถึง  สำนัก / ศูนย์ / สตท. / สตส.
 

ระดับคะแนน 

เกณฑ์การให้คะแนน ของสำนักงาน ก.พ.ร.

 1

หน่วยรับตรวจมีกลไกการดำเนินการตามแผนการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 และส่งรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการปรับปรุงดังกล่าว ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2554

2

 

หน่วยรับตรวจประเมินผลการควบคุมภายในได้ตามแนวทาง : การจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

3

หน่วยรับตรวจวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ  พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

 4

หน่วยรับตรวจจัดทำรายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 (ข้อ 6)

5

หน่วยรับตรวจดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผล โดยวัดผลจากระดับคะแนนของตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ/ภารกิจหลัก/เป้าหมายผลผลิตของส่วนราชการ(ตามเอกสารงบประมาณรายจ่าย)

 
แนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายใน
 
 
      จากรายงานความคืบหน้าการจัดวางระบบการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน
          การควบคุมภายใน พ.ศ. ๒๕๔๔ สำหรับงวดตั้งแต่ ตุลาคม ๒๕๔๕ ถึง กันยายน ๒๕๔๖ ตามโครงสร้างเดิม
 
                             สำนักงานเลขานุการกรม  ตัวอย่าง
                   กองแผนงาน  ตัวอย่าง
                   ศูนย์สารสนเทศ  ตัวอย่าง
                   สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ ๑-๙  ตัวอย่าง
 
            แนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายใน และแบบฟอร์ม Download  กำหนดส่งกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕
                 - (ร่าง) การจัดวางระบบการควบคุมภายใน Download  (กำหนดให้ทุกหน่วยงานทบทวนและจัดส่งให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕)
                 - ผังแสดงกระบวนงาน (สตท. ๑-๑๐)  Download  (กำหนดให้ สตท. ๑-๑๐ ทบทวน/ปรับปรุง ผังแสดงกระบวนงานและรายละเอียดการควบคุมตามที่ระบุในเอกสาร  และจัดส่งให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร  ภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕)
         
  Powerpoint  การประชุมคณะทำงานจัดวางระบบการควบคุมภายใน/การจัดทำรายงานการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ครั้งที่ ๑  Download

 
 
การควบคุมภายใน ประจำปี ๒๕๕๕
 
 
รูปแบบการรายงานผลการควบคุมภายในสำหรับรอบ ๖ เดือน
 
              สำหรับ สตส. ส่ง ให้ สตท. ภายใน วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๕
              และ สตท. ส่งให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหารภายในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕  (ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ)
 
รายงานผลการประเมินระบบการควบคุมภายใน  สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔  ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ Download 
 
                                
รูปแบบการรายงานผลการควบคุมภายในสำหรับรอบ ๑๒ เดือน

สตส.

สตท./สำนัก/ศูนย์

- แบบ ปย.1 (รายงานผลการประเมินองค์ประกอบการควบคุมภายใน 5 ด้าน) - แบบ ปย.1 (รายงานผลการประเมินองค์ประกอบการควบคุมภายใน 5 ด้าน)
- แบบ ปย.2 (รายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการควบคุมภายใน)
- แบบ ปย.2 (รายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการควบคุมภายใน)
- ภาคผนวก ก (แบบประเมินองค์ในภาพรวม) - ภาคผนวก ก (แบบประเมินองค์ในภาพรวม)
- แบบฟอร์ม 1 แบบรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในด้วยตนเอง(เป็นแบบฟอร์ม check list + เอกสารอ้างอิง) - แบบฟอร์ม 1 แบบรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในด้วยตนเอง(เป็นแบบฟอร์ม check list + เอกสารอ้างอิง)
- แบบฟอร์ม 2 รายงานผลการวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของการควบคุมภายในของปีงบประมาณ 2554
- แบบฟอร์ม 2 รายงานผลการวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของการควบคุมภายในของปีงบประมาณ 2554
- สตส./กลุ่ม จัดส่งข้อมูลทุกแบบฟอร์ม ให้ กลุ่มสตท./สำนัก/ศูนย์ ภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2555 - สตท./สำนัก/ศูนย์ จัดส่งข้อมูลทุกแบบฟอร์ม ให้ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2555
    
    ๒.แบบฟอร์มรายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปย.๑)  ไฟล์ Word
    ๓.แบบฟอร์มรายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการควบคุมภายใน (แบบ ปย.๒)  ไฟล์ Word
    ๔.แบบฟอร์มรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในด้วยตนเอง  (แบบฟอร์มที่ ๑)   ไฟล์ Word
    ๕.แบบฟอร์มรายงานผลการวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายใน ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓  (แบบฟอร์มที่ ๒)  ไฟล์ Word 
              สำหรับ สตส. ส่ง ให้ สตท. ภายใน วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
              และ สตท./สำนัก/ศูนย์ ส่งให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหารภายในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๔  (ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ)
    กษ ๐๔๐๐.๖/ว๕๑ เรื่อง ขอความร่วมมือให้ตอบแบบสอบถามการควบคุมภายใน       (แบบสอบถามการควบคุมภายใน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์  และคำแนะนำการใช้แบบสอบถาม  ไฟล์ word)           
    เอกสาร Powerpoint ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ (๒๔ มกราคม ๒๕๕๔) ปล.เอกสารประกอบสามารถดูได้ตามหัวข้อด้านบนค่ะ
 
 
                                                             
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้าInternal
ขณะนี้มีผู้ Online อยู่